วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

First Trip การดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

วันเดินทาง :: 27 พฤษภาคม 2553

ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า ตื่นเต้นมากสำหรับการไปครั้งนี้ เพราะมันเป็นครั้งแรกของชีวิตเลยทีเดียว ที่ร.ร.พาไปทัศนศึกษานอกสถานที่ >///< ที่ชอบมาก ๆ คือ วันไปนี้ ไม่ต้องเข้าแถว ตากแดดยังกับปลาเค็ม ร้อนชะมัด (เมื่อไหร่จะสร้างหลังคา ?) ก็มานั่งรอกันอยู่ ข้างๆ ศาลาท่านม่วง เดินทางออกจาก ร.ร.เบญจมราชูทิศ :: 8.30 น. เดินทางด้วย :: รถทัวร์..วุก (รถทุกวัว T T) ตอนแรกอุตส่าห์ดีใจ วิทย์เข้มได้ไปทัศนศึกษากับรถทัวร์ หรูจังเลย ประมาณนั้น สุดท้าย เศร้าเลยอ้ะ แต่ว่ารถนี้แหละ โคตรมันส์
ไปถึงสถานที่แรก :: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง มหาวิทยาลัยธรรมชาติ สถาบันเรียนรุ้เพื่อพึ่งตนเอง
เวลา :: 10.00 น.
วิทยากร :: คุณขจร ทิพาพงศ์ ( เป็นเลขาคุณประยงค์ ซึ่งคุณประยงค์ไม่อยู่ )


เส้นทางไปสถานที่แรก


ณ ที่นี้ เป็นวิสาหกิจชุมชน คือ นำทรัพยากรมาพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าหาเงินให้ชุมชน
มีแนวคิด วิธีการ ที่น่าสนใจ ได้แก่
  • เราต้องรู้จักคิดค้นดัดแปลงเพื่อ เพิ่มมูลค่า มีที่มาจาก การที่ราคายางตกต่ำ รายได้ไม่พอใช้ จึงได้คิดหาวิธีที่จะช่วยให้มี รายได้เพิ่มขึ้นนั่นคือ การนำยางนั้นมาแปรรูป เป็นยางแผ่น แล้วก็รวมกันเยอะๆในชุมชน และส่งขาย ช่วยขจัดปัญหาพ่อค้าคนกลางอีกด้วย
  • การเลี้ยงปลาดุกชีวภาพ ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด เนื้อมันจะไม่อร่อย และทำให้ต้นทุนค่าอาหารสูง จึงคิดวิธีลดต้นทุน โดยการลดอาหารเม็ด และปลูกพวกผักบุ้งไว้ในบ่อ เมื่อปลาดุกหิวไม่มีอาหาร มันจึงจำต้องกินผัก ทำให้เป็นการฝึกมัน และช่วยลดต้นทุน



  • การเลี้ยงกบคอนโด ด้วยยางรถยนต์ เพื่อนำไปขาย แต่ทำให้ผิวกบเป็นสีดำ เมื่อนำไปขายทำให้ไม่ค่อยมีใครซื้อ จึงนำฟางข้าวใส่ลงในน้ำ สัก3-4วันก่อนนำไปขาย จะทำให้ผิวกบเป็นสีเหลือง ดูสวยกว่าสีดำ


  • ใส่น้ำหมักชีวภาพ ที่ทำขึ้นเองโดย ใช้กล้วยน้ำว้างอม+ฟักทองแก่จัด+มะละกอสุก+กากน้ำตาล ลงในน้ำที่เลี้ยงปลาดุก เพื่อทำให้น้ำไม่เหม็น ปลาดุกจะไม่ป่วยและแข็งแรง
  • มีการทำหัวเชื้อ ทำน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม เพาะเห็ด ปลูกผัก เป็นต้น และสอนให้ผู้ที่สนใจ เป็นการเผยแพร่ความรู้















ก่อนจะออกเดินทางไปยังสถานที่อื่นต่อ ก็มีการกล่าวขอบคุณวิทยากร และมอบของที่ระลึก ขอบอกว่า น.ส.โสภิดา ที่ออกไปกล่าวขอบคุณ ช่างพูดเก่งเป็นบ้า !




ออกจากสถานที่แรก :: 13.00 น.
ถึงสถานที่ที่ 2 :: ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามเศรษฐกิจพอเพียง
เวลา :: 13.10 น.
วิทยากร :: คุณลุงอนันต์ สุวรรณโน (หมอดินประจำหมู่บ้าน)



หมอดิน คือ คนที่ดูแลดินของชุมชมหรือหมู่บ้าน เป็นคนคิดวิธีการพัฒนาดิน ตรวจสอบคุณภาพดินของชุมชนนั้น ๆ และนำดินมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางไปสถานที่บรรยาย+รถทัวร์ของเรา อย่างกับนั่งเครื่องเล่นในสวนสนุก มันส์มาก ๆ เนื่องจาก สองข้างทางมีต้นไม้ที่กิ่งมันยื่นออกมาในทางที่เรานั่งรถผ่าน มันจึงเข้ามาในรถเวลาขับผ่าน พวกเราที่นั่งข้างหลัง ก็นั่งหลบ ฝั่งนู้นที ฝั่งนี้ที สนุกมากเลย ที่สถานที่บรรยาย มีต้นมังคุดปลุกอยู่เยอะมาก และมีผลมังคุดเยอะ คุณลุงจึงเล่าถึงวิธีที่ทำให้มันออกผลเยอะ ดังนี้

การทำให้ต้นไม่ออกดอกออกผลดีนั้น ก็ต้องทำให้มันเครียดเสียก่อน คือ ในช่วงฤดูร้อน ต้นไม้จะมีความเครียด (ประมาณว่า กลัวตายเพราะแห้งแล้ง) เราก็ไม่ต้องให้น้ำ ให้ปุ๋ยมากนัก เพื่อทำให้มันเครียดมากขึ้น เมื่อมันเกิดความเครียด มันก็จะเหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป คือ มีความต้องการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ (กลัวสูญพันธุ์) จึงมีการเตรียมพร้อมที่จะออกดอกมากกว่าเดิม เมื่อมาถึงหน้าฝน เราก็ให้น้ำ ให้ปุ๋ยเยอะๆ มันก็จะออกดอกได้ดีและมากกว่าปกติ ซึ่งก็เหมือนกับคนที่อดข้าวนาน ๆ ก็จะหิวสะสมไว้ เมื่อได้กินข้าวก็จะหิวมากกว่าเดิม และกินได้เยอะกว่าเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น