วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

First Trip การดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

วันเดินทาง :: 27 พฤษภาคม 2553

ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า ตื่นเต้นมากสำหรับการไปครั้งนี้ เพราะมันเป็นครั้งแรกของชีวิตเลยทีเดียว ที่ร.ร.พาไปทัศนศึกษานอกสถานที่ >///< ที่ชอบมาก ๆ คือ วันไปนี้ ไม่ต้องเข้าแถว ตากแดดยังกับปลาเค็ม ร้อนชะมัด (เมื่อไหร่จะสร้างหลังคา ?) ก็มานั่งรอกันอยู่ ข้างๆ ศาลาท่านม่วง เดินทางออกจาก ร.ร.เบญจมราชูทิศ :: 8.30 น. เดินทางด้วย :: รถทัวร์..วุก (รถทุกวัว T T) ตอนแรกอุตส่าห์ดีใจ วิทย์เข้มได้ไปทัศนศึกษากับรถทัวร์ หรูจังเลย ประมาณนั้น สุดท้าย เศร้าเลยอ้ะ แต่ว่ารถนี้แหละ โคตรมันส์
ไปถึงสถานที่แรก :: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง มหาวิทยาลัยธรรมชาติ สถาบันเรียนรุ้เพื่อพึ่งตนเอง
เวลา :: 10.00 น.
วิทยากร :: คุณขจร ทิพาพงศ์ ( เป็นเลขาคุณประยงค์ ซึ่งคุณประยงค์ไม่อยู่ )


เส้นทางไปสถานที่แรก


ณ ที่นี้ เป็นวิสาหกิจชุมชน คือ นำทรัพยากรมาพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าหาเงินให้ชุมชน
มีแนวคิด วิธีการ ที่น่าสนใจ ได้แก่
  • เราต้องรู้จักคิดค้นดัดแปลงเพื่อ เพิ่มมูลค่า มีที่มาจาก การที่ราคายางตกต่ำ รายได้ไม่พอใช้ จึงได้คิดหาวิธีที่จะช่วยให้มี รายได้เพิ่มขึ้นนั่นคือ การนำยางนั้นมาแปรรูป เป็นยางแผ่น แล้วก็รวมกันเยอะๆในชุมชน และส่งขาย ช่วยขจัดปัญหาพ่อค้าคนกลางอีกด้วย
  • การเลี้ยงปลาดุกชีวภาพ ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด เนื้อมันจะไม่อร่อย และทำให้ต้นทุนค่าอาหารสูง จึงคิดวิธีลดต้นทุน โดยการลดอาหารเม็ด และปลูกพวกผักบุ้งไว้ในบ่อ เมื่อปลาดุกหิวไม่มีอาหาร มันจึงจำต้องกินผัก ทำให้เป็นการฝึกมัน และช่วยลดต้นทุน



  • การเลี้ยงกบคอนโด ด้วยยางรถยนต์ เพื่อนำไปขาย แต่ทำให้ผิวกบเป็นสีดำ เมื่อนำไปขายทำให้ไม่ค่อยมีใครซื้อ จึงนำฟางข้าวใส่ลงในน้ำ สัก3-4วันก่อนนำไปขาย จะทำให้ผิวกบเป็นสีเหลือง ดูสวยกว่าสีดำ


  • ใส่น้ำหมักชีวภาพ ที่ทำขึ้นเองโดย ใช้กล้วยน้ำว้างอม+ฟักทองแก่จัด+มะละกอสุก+กากน้ำตาล ลงในน้ำที่เลี้ยงปลาดุก เพื่อทำให้น้ำไม่เหม็น ปลาดุกจะไม่ป่วยและแข็งแรง
  • มีการทำหัวเชื้อ ทำน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม เพาะเห็ด ปลูกผัก เป็นต้น และสอนให้ผู้ที่สนใจ เป็นการเผยแพร่ความรู้















ก่อนจะออกเดินทางไปยังสถานที่อื่นต่อ ก็มีการกล่าวขอบคุณวิทยากร และมอบของที่ระลึก ขอบอกว่า น.ส.โสภิดา ที่ออกไปกล่าวขอบคุณ ช่างพูดเก่งเป็นบ้า !




ออกจากสถานที่แรก :: 13.00 น.
ถึงสถานที่ที่ 2 :: ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามเศรษฐกิจพอเพียง
เวลา :: 13.10 น.
วิทยากร :: คุณลุงอนันต์ สุวรรณโน (หมอดินประจำหมู่บ้าน)



หมอดิน คือ คนที่ดูแลดินของชุมชมหรือหมู่บ้าน เป็นคนคิดวิธีการพัฒนาดิน ตรวจสอบคุณภาพดินของชุมชนนั้น ๆ และนำดินมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางไปสถานที่บรรยาย+รถทัวร์ของเรา อย่างกับนั่งเครื่องเล่นในสวนสนุก มันส์มาก ๆ เนื่องจาก สองข้างทางมีต้นไม้ที่กิ่งมันยื่นออกมาในทางที่เรานั่งรถผ่าน มันจึงเข้ามาในรถเวลาขับผ่าน พวกเราที่นั่งข้างหลัง ก็นั่งหลบ ฝั่งนู้นที ฝั่งนี้ที สนุกมากเลย ที่สถานที่บรรยาย มีต้นมังคุดปลุกอยู่เยอะมาก และมีผลมังคุดเยอะ คุณลุงจึงเล่าถึงวิธีที่ทำให้มันออกผลเยอะ ดังนี้

การทำให้ต้นไม่ออกดอกออกผลดีนั้น ก็ต้องทำให้มันเครียดเสียก่อน คือ ในช่วงฤดูร้อน ต้นไม้จะมีความเครียด (ประมาณว่า กลัวตายเพราะแห้งแล้ง) เราก็ไม่ต้องให้น้ำ ให้ปุ๋ยมากนัก เพื่อทำให้มันเครียดมากขึ้น เมื่อมันเกิดความเครียด มันก็จะเหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป คือ มีความต้องการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ (กลัวสูญพันธุ์) จึงมีการเตรียมพร้อมที่จะออกดอกมากกว่าเดิม เมื่อมาถึงหน้าฝน เราก็ให้น้ำ ให้ปุ๋ยเยอะๆ มันก็จะออกดอกได้ดีและมากกว่าปกติ ซึ่งก็เหมือนกับคนที่อดข้าวนาน ๆ ก็จะหิวสะสมไว้ เมื่อได้กินข้าวก็จะหิวมากกว่าเดิม และกินได้เยอะกว่าเดิม

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5


ให้ผู้เขียนเล่าความถึงความประทับใจที่ได้มาศึกษาโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช ...


  • ในตอนแรก ขอยอมรับว่าไม่ได้ตั้งใจจะมาอยู่เลย ไม่มีเป้าหมายใด ๆ ทั้งสิ้นในชีวิต แต่คิดว่าตัวเองอย่างน้อยก็แยกแผนติดวิทย์แน่นอน จึงไม่ได้สนใจ ที่มาสอบโครงการนี้เนื่องด้วย มีโอกาสก็เลยสอบ ช่วงนั้นสอบแยกแผนเสร็จแล้ว ก็เกิดความเกียจคร้าน ไม่สนใจจะอ่านหนังสือ ด้วยคิดว่าฉันมีที่เรียนแน่ ๆ วันที่สอบก็มาแบบหัวสมองว่างเปล่า ตอนสอบก็ไม่คิดว่าตัวเองจะสอบได้ แต่เมื่อประกาศผล ก็ยอมรับอ่ะนะ ว่าปลื้มใจตัวเองมาก >///<
  • ถึงแม้จะติด ก็ไม่ได้คิดจะเรียน เพราะไม่มีเพื่อนที่รู้จักเลย มีแต่ น.ส.พิรุฬห์รัตน์ คนเดียว ก็ตกลงกันอยู่นาน เวลาใครถามฉัน 'ฉันก็จะบอกว่าถ้าแก้วอยู่เราก็อยู่' ส่วนแก้วก็จะบอกว่า 'ถ้าจ๋าอยู่แก้วก็อยู่' วนไปวนมา สุดท้ายตกลงกันว่าจะมาเรียน
  • ตอนเรียนแรก ๆ ไม่รู้เรื่องเลยแม้แต่น้อย รู้สึกสับสนและท้อมาก ๆ เพราะเราเรียนไม่รู้เรื่องในขณะที่คนอื่นรู้แล้ว เคยคิดว่าจะออกจากโครงการ แต่ก็ไม่กล้า สุดท้ายก็อดทนมาจนถึงทุกวันนี้ ท่องไว้ว่า เพื่ออนาคต ๆ ๆ ๆๆๆ
  • ทุกวันนี้ มีความสุขดี ประทับใจเพื่อนๆ และคุณครูมาก เพื่อนทุกคนเฮฮาปาร์ตี้ เข้ากันได้ดี ช่วยเหลือกันและกัน ยังมีความสุขกันได้อีก แม้ว่าการบ้านมามากล้มเหลือคณานับได้ T^T ฮือออ ๆ

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4

ให้ผู้เรียนเขียนความรู้สึกที่ได้เรียนเกี่ยวกับบล็อกหรือเว็บบล็อกลงในใบงานที่ของผู้เรียน เล่าความรู้สึกทั้งข้อดีและข้อเสนอแนะ ...


การเรียนเว็บบล็อก เป็นอะไรที่สนุกมาก เพราะฉันเคยสนใจคิดอยากจะลองทำมานานแล้ว แต่ก็ไม่มีเวลา (จนบัดนี้ ก็ยังไม่มีเวลา)

ข้อดี คือ
  • ทำให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  • เป็นการเผยแพร่ความรู้ของเราแก่ผู้อื่น
  • ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งบล็อก
  • ฝึกฝีมือการทำ โฟโต้ช็อป (สนุกดี แต่มึนน)
ข้อเสนอกแนะ คือ
  • ควรจัดสรรเวลาให้ถูก อย่าหมกมุ่นแต่การทำเว็บโดยไม่ทำอย่างอื่นเลย
  • ควรเขียนบทความที่มีสาระ ไม่ส่อในทางไม่ดี ลบหลู่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือ ให้ร้ายผุ้อื่น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
  • ควรแต่งให้สวย ๆ เพื่อความน่าสนใจของบล็อก

กิจกรรมที่ 3

ให้ผู้เรียนเล่าถึง...
1.วิธีคิดของคุณลุงประยงค์ ที่ได้รับรางวัลแมกไซไซอย่างย่อ ๆ
ตอบ วิธีคิดของคุณลุงประยงค์ คือ คนเราต้องรู้จักคิดค้นดัดแปลงเพื่อเพิ่มมูลค่า มีที่มาจาก การที่ราคายางตกต่ำ รายได้ไม่พอใช้ คุณลุงจึงได้คิดหาวิธีที่จะช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนั่นคือ การนำยางนั้นมาแปรรูป เป็นยางแผ่น แล้วก็รวมกันเยอะๆในชุมชน และส่งขาย ช่วยขจัดปัญหาพ่อค้าคนกลางอีกด้วย

2.วิธีคิดของคุณลุงขจร ทิพาพงศ์ วิทยากรมหาวิทยาลัยธรรมชาติ ในประเด็นที่ผู้เรียนสนใจ
ตอบ คุณลุงขจร เป็นตัวอย่างของคนที่รู้จักคิดค้น มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความพยายามที่จะพัฒนายกระดับชุมชน แม้ตนจะไม่ได้มีความรู้อะไรมากนัก แต่ก็ได้คิดวิธีง่ายๆ ใช้หลักธรรมชาติ จนทำให้ชุมชนไม้เรียง เป็นชุมชนตัวอย่างในด้านพึ่งพาตนเอง สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง

3.วิธีคิดของคุณลุงอนันต์ สุวรรณโณ วิทยากรหมอดินชุมชนบ้านไม้เรียง
ตอบ คุณลุงอนันต์ มีวิธีคิด ที่ปฏิบัติแล้วได้ผลจริงที่น่าสนใจ คือ ในการจะทำให้ต้นไม่ออกดอกออกผลดีนั้น ก็ต้องทำให้มันเครียดเสียก่อน นั่นคือ ในช่วงฤดูร้อน ต้นไม้จะมีความเครียด (ประมาณว่า กลัวตาย) เราก็ไม่ต้องให้น้ำ ให้ปุ๋ยมากนัก เพื่อทำให้มันเครียดมากขึ้น เมื่อมันเกิดความเครียด มันก็จะเหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป คือ มีความต้องการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ (กลัวสูญพันธุ์) เมื่อมาถึงหน้าฝน เราก็ให้น้ำ ให้ปุ๋ยเยอะๆ มันก็จะออกดอกได้ดีและมากกว่าเดิม เป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตที่น่าสนใจมากทีเดียว

4.วิธีคิดของพี่พรประสิทธิ์ ไม้เรียง วิทยากรการเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้
ตอบ พี่เค้ามีวิธีคิดประมาณว่า คนเราถ้าตั้งใจทำอะไร และทำด้วยความชอบจากใจจริง ๆ ก็สามารถประสบผลสำเร็จได้ อย่างพี่พรประสิทธิ์ไม่ค่อยมีความรู้ แต่พี่เค้าก็รักที่จะทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจริง ๆ ก็ได้พยายาม ๆ ทีละนิด ๆ ที่จะดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จนทุกวันนี้ ความพยายามก็สำเร็จ พี่เค้ามีศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นชิ้นเป็นอัน ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก และพี่เค้ายังเป็นต้นแบบ ถ่ายทอดความรู้ให้กับผุ้อื่นได้อีกด้วย

5.สรุปกระบวนการคิดที่คิดว่าจะเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คำคม ข้อเตือนใจ ที่คุณลุงและพี่พรประสิทธิ์ใส่ลงในบล็อกของผู้เรียน
ตอบ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เราต้องมีปัญหา หรือข้อสงสัยเสียก่อน แล้วจึงนำปัญหานั้นมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุ หาวิธีแก้ปัญหา ดังเช่น
  • ที่คุณลุงขจรบอกว่าราคายางตกต่ำ ทำให้ไม่พอใช้ ก็ได้มาวิเคราะห์ สาเหตุ ก็คือ พ่อค้านายหน้ากดราคา เนื่องด้วยชาวบ้านไม่ค่อยมีความรู้ วิธีแก้ไขคือ นำยางมารวมกันในชุมชน ส่งไปแปรรูปเป็นยางแผ่น เพื่อให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน แล้วส่งขาย เป็นการเพิ่มมูลค่า และไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางด้วย
  • การเลี้ยงกบคอนโด ด้วยยางรถยนต์ ทำให้ผิวกบเป็นสีดำ เมื่อนำไปขายทำให้ไม่ค่อยมีใครซื้อ จึงนำฟางข้าวใส่ลงในน้ำ สัก3-4วันก่อนนำไปขาย จะทำให้ผิวกบเป็นสีเหลือง ดูสวยกว่าสีดำ
  • การเลี้ยงปลาดุก ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด เนื้อมันจะไม่อร่อย และทำให้ต้นทุนค่าอาหารสูง จึงคิดวิธีลดต้นทุน โดยการลดอาหารเม็ด และปลูกพวกผักบุ้งไว้ในบ่อ เมื่อปลาดุกหิวไม่มีอาหาร มันจึงจำต้องกินผัก ทำให้เป็นการฝึกมัน และช่วยลดต้นทุนด้วย
ข้อคิด คือ เราต้องตั้งใจทำ มีความพยายาม และมีใจรักในสิ่งที่จะทำจริง ๆ สิ่งนั้นจึงจะประสบผลสำเร็จได้โดยง่าย

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

จากการที่ผู้เรียนได้ศึกษานอกสถานที่ ณ แหล่งเรียนรู้ บ้านไม้เรียง...

1) จากการไปมหาวิทยาลัยธรรมชาติ ให้ผู้เรียนสรุปแนวคิดและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการมหาวิทยาลัยธรรมชาติ
ตอบ การจัดการมหาวิทยาลัยธรรมชาติ เป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านและวิถีธรรมชาติ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ชาวบ้านถนัดอยู่แล้ว เมื่อได้รับการเรียนรู้แนวทาง ก็ทำให้สามารถนำภูมิปัญญานั้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการทำตามแนวพระราชดำริหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขแบบพอมีพอกิน ไม่ฟุ่มเฟือย


2) จากการศึกษาหมอดินบ้านลุงอนันต์ ได้แนวคิดอะไรบ้าง และจะนำแนวคิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
  • ต้นไม้นั้นถ้าหากมันมีความเครียด หลังจากนั้นมันจะออกดอกได้ดี
  • เรียนรู้การดูแลดิน การตรวจสอบคุณภาพดิน

3) จากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แนวคิดและข้อสรุปที่น่าสนใจอะไรบ้าง
ตอบ
  • เราไม่ควรทำลายพืช เพราะจากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำให้เราได้รู้ว่า กว่าจะได้ต้นไม้ที่ เจริญเติบโตเป็นต้นได้นั้น ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆ เลย
  • การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยใจรักจริง ๆ มักจะประสบผลสำเร็จ
  • ได้เรียนรู้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้

กิจกรรมที่ 1


ชื่อ-สกุล :: ศิริกานต์ กระบวนสิน
ชื่อเล่น :: จ๊ะจ๋า ^^

การศึกษา :: ณ ขณะนี้ ร.ร.เบญจมราชูทิศ แผนวิทย์เข้มข้น ม.4/1
ปรัชญา :: ถ้าคนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้ !

สิ่งที่ชอบ ::
* The Twilight Saga
* Edward (แวมไพร์ ผู้หล่อเหลา >///< โอ้ว มายเลิฟ! )
* Percy Jackson
* Harry Potter
* เซ็ปติมัส ฮีป
* ตอนนี้ชอบ นิยายแฟนตาซี (ซื้อให้จะดีมาก)
* ชอบเวลาว่าง เวลาไม่ไปโรงเรียน เวลาที่ไม่มีการบ้าน
* ชอบดูภาพยนตร์

สิ่งที่ไม่ชอบ ::
* การบ้าน
* โรงเรียน
* การสอบ